wellcome to blogger freemmie

wellcome to blogger freemmie

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันเสาร์ ที่ 21 เดือนมีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  10
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันอังคาร  ที่ 18  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่  10  กลุ่ม  103   ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.


                  ในการสัปดาห์นี้เริ่มต้นด้วยการ อาจารย์นำสีและแผ่นซีดีเพลงมาแจก และ ได้ให้เล่นเกมส์  ไร่สตอเบอร์รี่      โดยมีวิธีการเล่นเกมส์ดังนี้      มีคำถามทั้งหมด  4  ข้อ


 

 



  1. รั้วสตอเบอร์รี่ไร่ของตัวเองเป็นอย่างไร
  2. หากเข้าไปในสวนสตอเบอร์รี่คุณจะกินสตอเบอร์รี่กี่ลูก
  3. หากเจ้าของสวนเข้ามาเห็นคุณจะทำอย่างไร
  4. หากออกมาจากสวนสตอเบอร์รี่คุณรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์เมื่อซักครู่นี้
คำตอบ และ คำเฉลย

  1. ตอบรั้วเหล็กสูง    หมายถึง    ยิ่งสูงยิ่งยับยั้งชั่งใจ
  2. ตอบไม่กินค่ะ    แต่เก็บใส่ถังและจ่ายตังค์กลับบ้าน  หมายถึง  ลักษณะการมีกิ๊ก
  3. ตอบหนูไม่ได้ขโมย   แต่ เก็บแล้วจะไปจ่ายเงิน   หมายถึง   ถ้าแฟนจับได้
  4. ตอบน่าจะขออนุญาติเขาก่อน   หมายถึง   ความรู้สึก
        หลังจากเล่นเกมส์ไปอย่างสนุกสนานแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ฝึกหัดร้องเพลงเด็กปฐมวัย  5  เพลง  และเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอน   การส่งเสริมทักษะการช่วยเหลือตนเอง  เป็นทักษะสุดท้าย ในด้านสังคมเด็กพิเศษนี้ให้เขามีอิสระในการดำรงณ์ชีวิตให้มากที่สุดคือ   การกินอยู่    การเข้าห้องน้ำ    การแต่งกาย  รวมไปถึงกิจวัตรประจำวันต่างๆ   เด็กพิเศษจะไม่ค่อยมีอิสระในตนเองดังนั้นเราควรส่งเสริมให้เขาทำด้วยตนเอง

การสร้างความอิสระ
การสร้างความอิสระให้กับเด็กควรให้ทำดังนี้   เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง   อยากทำงานตามความสามารถเด็กเรียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อนหรือเด็กที่โตกว่า     เพราะเด็กทุกคนต้องการทำอะไรด้วยตนเองขณะเด็กพิเศษยังชอบเรียนแบบเพื่อน หรือเด็กที่โตกว่า   เช่น   การผูกเชือกรองเท้า
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญเช่น  การได้ทำอะไรด้วยตนเองเด็กจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความรู้ความรู้สึกที่ดี




หัดให้เด็กทำเอง
ในการปฏิบัติให้เด็กทำเองนั้นครูต้องทำดังนี้   ครูไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น  อดทนอย่าใจอ่อน  เพราะผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆ ให้เด็กมากเกินไปทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เอง  หากให้เวลาเขาทำครูต้องห้ามพูดว่า  ..หนูทำช้า  ...หนูยังทำไม่ได้    ครูที่ดีควรทำให้เด็กแค่เรื่องที่เด็กขอ   เช่น   การผูกเชือกรองเท้า    เด็กขอให้ครูผูกแค่เชือกรองเท้า  แต่ครูใส่รองเท้าถุงเท้าให้หมด  อันนี้ผิด
เคสตัวอย่าง    น้องดาวซินโดรมคนหนึ่งครูจะพาไปเล่นกลางแจ้งแต่ในห้องเรียนมีเด็กปกติ แต่น้องดาวคนนี้ใส่รองเท้าไม่ได้  สิ่งที่ครูและเด็กควรกระทำคือ
  1. สอนให้เด็กรู้จักการรอคอย  
  2. ให้กำลังใจเด็กทีรอก่อน
  3. ไม่ให้เด็กคนอื่นพูดให้น้องดาวซินโดรมน้อยใจ
  4. ครูซักถามเด็ก   ไหนมีใครอยากช่วยเพื่อนไหม    เด็กทุกคนก็จะรู้สึกดีเพราะทุกคนเป็นเด็กเรียนรวมทุกคนต้องรอคอย
จะช่วยเมื่อไหร่ 
ครูควรจะช่วยเด็กหากิจกรรมมาช่วยเพราะหากไปคยันคยอเด็ก เด็กไม่ทำหรอก  เพราะจะมีบางวันที่เด็กไม่อยากทำอะไรหลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว    หรือเมื่อเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้     แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการหรือมักช่วยในช่วงกิจกรรม


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  2-3 ปี




การแต่งกาย




การกินอาหาร




การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ




ทั่วไป

- ถอดเสื้อออกได้
- เปลี่ยนเสื้อได้
- อาจเลิกทำได้ง่ายๆ
- ต้องการคนช่วยเหลือแต่ก็ร่วมมือดี



- ใช้ช้อนส้อมได้
- แต่ชอบใช้มือและช้อนมากกว่า
- ป้อนอาหารที่ชอบได้เอง
- ดื่มน้ำจากแก้วได้

- บอกว่าจะเข้าห้องน้ำโดยไม่ทำเลอะก่อน
- กลั้นปัสสาวะ อุจจาระได้



- เปิดประตูเลื่อนหรือลูกบิดได้
- ขึ้นลงบรรไดโดยเกาะราวได้
- เลื่อนเก้าอี้มายืนเพื่อปีนหยิบของ


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  3-4 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและข้าห้องน้ำ

ทั่วไป

-ถอดเสื้อได้เรียบร้อย  รวดเร็ว
- ใส่เสื้อ  ถอดกระดุม  รูดซิปได้คล่อง
- เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้




- ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
- รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
- กินอาหารรวมกับคนในครอบครัวได้

- ชอบอาบน้ำเอง
- เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
-อาบไม่สะอาด
-ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ

- บอกอายุ เพศ  ชื่อ  นามสกุลตนเองได้
-ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
-แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  4-5 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ       

ทั่วไป

-ร้อยเชือกรองเท้าได้
-ถอดหรือใส่เสื้อได้โดยมีคนช่วย
-บอกด้านหน้า  ด้านหลังของเสื้อได้




-ใช้มีด  ช้อน  ส้อม
-กินอาหารได้เองโดยไม่ต้องป้อน
-ผู้ใหญ่อาจคลุกหรือฉีกเนื้อให้ก่อน

- อาบน้ำ  เช็ดตัวเอง
- เข้าห้องน้ำ  ล้างมือ  ล้างก้นได้

- เล่นกับเพื่อนบ้านเมื่อเรียกก็กลับ
- ทิ้งของเล่นต้องเตือนให้เก็บ
- ช่วยงานบ้าน  เช่น   จัดโต๊ะ  ทิ้งขยะ  ให้อาหารสัตว์


ทักษะการช่วยเหลือตนเอง  อายุ  5-6 ปี


การแต่งกาย


การกินอาหาร

การอาบน้ำและเข้าห้องน้ำ

ทั่วไป

- ผูกเชือกรองเท้าได้ 
- แต่งตัวเองไดทุกขั้น
- ช่วยน้องแต่งตัวได้





- กินอาหารด้วยช้อนส้อมได้  แต่มักไม่เรียบร้อย
- ไม่ค่อยสระผม
- รู้จักมารยาทในการรับประทานอาหาร

- อาบน้ำ  เช็ดตัวเอง
- ไม่ค่อยสระผม
- เข้าห้องน้ำขับถ่ายได้เอง

- ไปโรงเรียน
- นำเงินไปใช้ได้เล็กน้อย
- จัดเตียงตนเอง
- เอาเสื้อใช้แล้วใส่ตะกร้า


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง  ครูต้องย่อยงานให้เด็กเป็นทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ  เรียงตามลำดับขั้นตอน   เช่น   การเข้าส้วม
  • เข้าไปในห้องส้วม
  • ดึงกางเกงลงมา
  • ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
  • ปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • ใช้กระดาษขำระเช็ดก้น
  • ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
  • กดชักโครกหรือตักน้ำราด
  • ดึงกางเกงขึ้น
  • ล้างมือ
  • เช็ดมือ
  • เดินออกจากห้องส้วม



ในการทำกิจกรรมนั้นควรมีการวางแผนและแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆ ให้มากที่สุด

สรุป      ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ  เพราะ  ความสำเร็จขั้นเล็กๆ นำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล  ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองและเด็กสามารถพึ่งตนเองได้และรู้สึกว่าตนเองเป็นอิสระสามารถช่วยเหลือตนเองได้

เพลงนกกระจิบ 

นั่นนกบินมา ลิบลิบ
นกกระจิบ  1 2 3 4 5
อีกฝูงบินล่ิงลิยมา  6 7 8 9 10 ตัว



เพลงเที่ยวท้องนา 

ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา 
เห็นฝูงวัวกินหญ้า  1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว  6 7 8 9 10 ตัว



เพลงแม่ไก่ออกไข่

แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง
ไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน
1  วันได้ไข่ 1 ฟอง



เพลงลูกแมวสิบตัว 

ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้
น้องขอให้แบ่งไป 1 ตัว
ลูกแมว 10 ตัวก็เหลือน้อยลงไป
นับดูใหม่เหลือลูกแม่ 9 ตัว  



เพลง  ลุงมาชาวนา

ลุงมาชาวนาเลี้ยงวัว  เลี้ยงควาย
เอาไว้ใช้ไถนา
ลุงมาชาวนาเลี้ยงหมา  เลี้ยงแมว
ไว้เป็นเพื่อนลุงมา
*หมาก็เห่า  บ๊อก บ๊อก
แมวก็ร้อง เมี๊ยว  เมี๊ยว
ลุงมาไถนา  วัวร้อง  มอ  มอ



ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์

ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนและแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟัง ตั้งใจจด
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนมาเรียนครบ  ตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่เสียงดัง  พูดคุยกันขณะนั่งเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนเข้าใจรู้เรื่อง  มีเทคนิคการสอนต่างๆมากมาย  สนุกสนานในการเรียน 

วันเสาร์ ที่ 21 เดิือน มีนาคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  9
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันอังคาร  ที่ 11  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่  9  กลุ่ม  103   ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.

           ในรายสัปดาห์นี้เริ่มเรียนอาจารย์ได้พูดถึงการไปสอบเข้าบรรจุรับราชการของสังกัด กทม.และ สพธ.โดยมีข้อแตกต่างกันในการสอบบรรจุจะต้องผ่าน 3 ด่าน คือ สอบภาค ก สอบภาค ข และ สอบสัมภาษณ์ และเมื่อให้ความรู้เสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ให้เล่นเกมส์ชื่อเกมส์ ทุ่งหญ้าสะวันน่า

 


 
ต่อไปเข้าเรื่องเกี่ยวกับการเรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆ ของเด็กปฐมวัย  ด้านทักษะภาษา
ด้านทักษะภาษา     เป็นด้านที่สภาพแวดล้อมต้องมีตัวหนังสือประกอบอยู่ในห้อง เช่น ป้าย  คำศัพท์  เพลง  นิทาน  คำคล้องจอง  กลอน  เป็นต้น

         การวัดความสามารถทางภาษา  มีวิธีการวัดความสามารถทางภาษาของเด็ก  เช่น  การเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม    ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม     ถามหาสิ่งต่างๆไหม    บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้หรือเปล่า   ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นได้ไหม     และอาจารย์ได้บอกว่าเด็กอนุบาลให้ตายยังไงก็พูดไม่ชัด เช่น   พูดตกหล่น   จากคำว่า  จิ้งจก   เป็น  จก   การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง    พูดติดอ่าง   เช่น   ครูครูครู

           การปฏิบัติของครูและผู้ปกครอง  หากน้องพูดผิดเพี้ยนต้องทำเช่นนี้
1. ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือออกเสียงไม่ชัดเจน  อย่าไปเซ้าซี้ จำ่จี้จ่ำชัยเขา
2. หากบอกเด็กว่าพูดช้าๆ  ตามสบาย  คิดก่อนพูด
3. อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
4.อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
5. ไม่เปลี่ยนเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
6.เด็กที่พูดไม่ชัดเจนอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยินจากครู  ผู้ปกครอง  หรือ บกพร่องทางการได้ยิน

          ทักษะพื้นฐานทางภาษา   เด็กพิเศษเน้นการรับรู้ และ การแสดง   ทักษะพื้นฐานคือ  ฟัง   พูด  อ่าน  เขียน  โดยมีทักษะการรับรู้ภาษา   การแสดงออกทางภาษา   การสื่อความหมายโดยใช้คำพูด   เป็นต้น


พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา


        เด็กตอบสนองต่อสิ่งเร้านี้หรือไม่


        ใช่

          ไม่

      บางครั้ง


  •  เสียงของครูโดยการหันมามอง
  •  ต่อคำถาม  จะเอาอะไร  ด้วยการชี้
  •   ต่อประโยค  ช่วยเอาให้ที
  •  หาให้หน่อย  เมื่อครูไม่มีท่าประกอบ
  •  จะเอานี่ใช่ไหม  โดยการพยักหน้า
  •  หนูอยากได้อะไรด้วยการพูด
  •  เล่าให้ครูฟังซิ  โดยการพูดเป็นประโยค
  •  ใช้ทำอะไร   โดยตอบวลี หรือประโยค







พฤติกรรมเริ่มการแสดงออกของเด็ก


                  เด็กเริ่มทำโดย

     ใช่

       ไม่

    บางครั้ง

  •  ทำเสียงต่างๆผสมปนกัน
  •  ทำเสียงคล้ายพูดเพื่อเรียกร้องความสนใจ
  •  ใช้เสียงสูงต่ำเหมือนจะถามคำถาม
  •  ชี้ไปยังสิ่งที่ต้องการจะเอา
  •  ขอสิ่งต่างๆโดยการบอกชื่อ
  •   พูดเป็นวลีที่มีเสียงคล้ายคำ















     
*** หากเด็กหันมามอง  หรือขยับตัว แขน ขา เล็กน้อย  หรือแสดงปฎิกริยาใดๆ  แสดงว่าเด็กปกติ

  ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย  ครูต้องรับรู้พัฒนาการทางภาษาของเด็ก เช่น 
  1. การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา  
  2.  ภาษาที่ไม่ใช้คำพูดมาก่อนภาษาพูด   
  3.  ให้เวลาเด็กได้พูด   
  4.  คอยให้เด็กตอบ  (ชี้แนะหา)
  5. เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว
  6. เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
  7. ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม  เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  8. กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
  9. เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  10. ใช้คำถามปลายเปิด
  11. เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่  ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  12. ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์เคสจำลองใช้กับเด็กพิเศษ

เรื่องการใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง    หากครูไปเจอเด็กกำลังใส่เสื้อผ้าด้วยตนเอง ครูต้องปฏิบัติดังนี้




ขั้นตอน

1. ถามว่า  หนูทำอะไรค่ะ
2. หนูจะใส่ผ้ากันเปื้อนใช่ไหมค่ะ
3. หนูใส่ผ้ากันเปื้อนได้ไหม
4. ไหนพูดตามครูสิ   ผ้ากันเปื้อน
5. ถ้าเด็กใส่ไม่ได้ครูก็ใส่ให้เลย

หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้ทำกิจกรรมดนตรีบำบัด  โดยการให้จับคู่กับคนเดิม  หยิบสีคนละสี  คนหนึ่งลากไปตามเสียงเพลง  โดยทำให้มีช่อง ทำโดยวิธีไหนก็ได้ ลากไปจนกว่าเพลงจะจบ   โดยกลุ่มของดิฉันทำได้ดังภาพนี้



      โดยกิจกรรมนี้สามารถบกบ่องถึงบุคลิกภาพของเเต่ละคนว่าเป็นคนเช่นไร   และยังสามารถฝึกสมาธิ   ได้ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ในการทำกิจกรรม   และส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น   อีกทั้งยังได้จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเเต่ละคนด้วยคะ

ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์

ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนและแต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนมาเรียนครบ  ตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

วันอังคาร ที่ 4 มีนาคม พ.ศ 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  8
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันอังคาร  ที่ 4  เดือนมีนาคม พ.ศ.2558
ครั้งที่  8  กลุ่ม  103   ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.


         ในรายสัปดาห์นี้เป็นการเริ่มต้นการเรียนที่สนุกสนานมาก นักศึกษาชอบใจ แต่ก่อนที่จะไปฟังเกมส์สนุกสนานเราก็มาพูดเรื่องการจัดงานบายเนียร์ให้รุ่นพี่ปี 5 เพราะกำลังมีปัญหาเรื่องการเงินเพราะบางคนจะไม่จ่ายเพราะว่าตนเองไม่ไป  ก็เลยเก็บเงินยังไมครบ ซึ่งเป็นปัญหาเรื้อรังมาก ซึ่งดิฉันคิดว่าเป็นปัญหาให้นะคะ เพราะมันเป็นหน้าที่ของรุ่นเรา ซึ่งปี 3 เป็นคนจัด และคิดว่าใครจะไปหรือไม่ไปก็ช่างแต่สิ่งที่ควรคือทุกคนต้องจ่าย เพราะเราเป็นคนจัดเป็นหน้าที่ของ  เรางานบายเนียร์นี้ดิฉันก็ไม่ได้ไปคะ  แต่ดิฉันจ่ายเพราะจะไปไม่ไปสิทธิ์ของเรา แค่เงิน 500 บาทถือว่าเราช่วยเพื่อนๆเอกเรา และมันเป็นงานของเรา  คนเราควรจะมีจิตสำนึกที่ดี  โตแล้วควรรู้ตัวเองแล้วคะ .....บายเนียร์จบไปทีนี้ก็เข้าสู่โหมดสนุกสนาน เกมส์เฮฮา นักศึกษาชอบใจ โดยเกมส์นี้เป็นเกมส์รถไฟเหาะแห่งชีวิต




 โดยมี คำถาม 5 ข้อดังต่อไปนี้
1.ถ้าเราไปถึงสวนสนุกแล้ว แล้วเราจะไปขึ้นรถไฟเหาะเราคิดว่าเราจะรอกี่นาที
2.เมื่อขึ้นไปยังรถไฟเหาะที่หวาดเสียวแล้วเราจะทำอย่างไร
3.เมื่อรถไฟเหาะลงมากะทบกับน้ำนักศึกษาจะร้องออกมาว่าอะไร
4.เมื่อเราไปขี่ม้าหมุน แล้วม้าหมุนของเราดันเสียเราจะทำอย่างไร
5.ให้วาดภาพรถไฟเหาะของตนเอง

โดยคำตอบที่ดิฉันตอบมีดังนี้
1.ไปต่อแถวจนกว่าจะถึงตาเรา
2.หลับตา
3.อ้ายยยยยยยยยยยย
4.ยืนงง แล้วยิ้มมมมมมมม :)
5.เรียบง่าย  ตรง ๆ ชมวิวไปเรื่อย  ...............................................................

เฉลยทั้ง 5 ข้อ
1.เฉลยว่าเวลาในการจู่โจมกับแฟนหนุ่มเป็นดังนี้คะ  นานเท่าไหร่ก็รอ
2.เฉลยเวาลาจู่โจมกับแฟนหนุ่มเราจะทำอะไร  ของฉันหลับตา 5555
3.เฉลยขณะจู่โจมกับแฟนหนุ่มเราจะร้องอย่างไร  ของหนู อ้ายยยยยยยยยยยยยยย
4.เฉลยหากการจู่โจมอยู่ฝ่ายชายเกิดมีปัญหาชะงัก เราจะทำอย่างไร ของหนู  ยืนงง แล้วยิ้มมมมมมม
5.เฉลยท่าไม้ตายของเราอยากให้เป็นอย่างไร  ของหนู เรียบง่าย ชมวิวไปเรื่อยๆ
โดยอาจารย์บอกว่าผลที่พบมาเป็นจริง หรือใล้เคียงกับที่นักศึกษาตอบ

ซึ่งเกมส์นี้ดิฉันคิดว่านักศึกษากลุ่มดิฉันชอบใจ  สนุกสนาน อยากให้อาจารย์นำเกมส์แบบนี้มาเล่นอีกคะ  ทำให้ไม่เครียดก่อนการเรียน  :)  ความสนุกสนานจบไปแต่การเรียนยังไม่จบนะจ๊ะ

      หลังจากสนุกสนานกันมามากพอ  ทีนี้ก็ถึงการนำเข้าสู่บทเรียน  เรื่อง  การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ  โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้คะ
โดยอาจารย์ได้บอกว่าเด็กพิเศษสิ่งที่ควรส่งเสริมทักษะเเรกคือ   ทักษะด้านสังคม  จดจำไว้ว่าทักษะนี้สภาพแวดล้อมไม่ค่อยส่งผลมากกับเด็ก  มันขึ้นอยู่กับตัวของเด็กเอง  สิ่งเเวดล้อมไม่ได้ช่วย
เช่น  ต่อให้ครูจัดมุมสภาพแวดล้อมที่ดีขนาดไหนน้องเขาก็ไม่เข้า  ครูต้องปรับที่ตัวเด็กเองไม่ใช่สภาพแวดล้อม
*การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข
*เด็กพิเศษขาดทักษะทางสังคม  ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อหรือแม่
กิจกรรมการเล่น   จุดเด่นของเด็กพิเศษจะชอบเลียนแบบเพื่อน  เด็กพิเศษจะชอบสำรวจเพื่อนเหมือนของเล่น  การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม   เด็กจะสนใจกันเองโดยการเล่นเป็นสื่อ  ในช่วงเเรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเ็นเพื่อน   เเต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสัมผัส   น่าสำรวจ  น่าผลัก  น่าดึง   เช่น
1.  หากเด็กพิเศษสมาธิสั้นเดินอยู่ แล้วมีคนยืนอยู่หน้าประตูข้างหน้า น้องสมาธิสั้นก็จะเดินชน หรือผลักหรือกระเเทกออกไป  
2.หากมีกระเป๋าขวางทางอยู่  ถ้าเป็นเด็กปกติเด็กปกติจะยกกระเป๋าออกหรือกระโดดข้าม  แต่ต่างจากเด็กพิเศษ เด็กพิเศษจะเดินชน  หรือเหยียบ
ยุทธศาสตร์การสอน
เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร   ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นเบบใด  ดังนั้นครูควรทำการจดบันทึก   และทำแผน IEP
แผน IEP จะเขียนได้ก็ต่อเมื่อครูผู้สอนรู้ลึก  รู้จริง  แผน IEP เด็กทุกคนสามารถมีได้ไม่จำเป็นแค่เพียงเด็กพิเศษ
สิ่งที่ครูควรปฎิบัติขณะเด็กเล่น
1.อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
2.ยิ้มและพยักหน้าให้  เมื่อเด็กหันมาหาครู
3.ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
4.เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม  เพื่อยืดเวลาการเล่น
5.ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
เคสตัวอย่าง   ถ้าเด็กทำงานศิลปะอยู๋  ครูยิ้มให้แต่ไม่ต้องเข้าไปยุ่งกับเด็ก



 
 


การกระตุ้นเเละการเลียนแบบเอาเยี่ยงอย่าง   เด็กจะเลียนแบบจากเพื่อน  ถ้าเด็กเล่นคนเดียวจะไม่เกิดผล  เด้กต้องเล่น  2-4 คน  ในเด็ก  4 คนควรเป็นเด็กปกติ 3 คน  เด็กพิเศษ 1 คน  เด็กพิเศษทำหน้าที่เหมือนครู  เด็กพิเศษทำหน้าที่เป็นนักเรียน  เลียนแบบครู  ที่สำคัญเด็กพิเศษจะไม่ชอบจับกลุ่มเล่นกันเอง   เคสตัวอย่าง  หากเด็กเล่นทรายกันอยู่  4 คน ครูควรใส่ของเล่นลงไป  2 ชิ้น เพื่อให้เด็กแบ่งกันเล่น  และรู้จักการรอคอย  หากมีของเล่นเยอะๆครูไม่ควรใส่ลงไปทีเดียว  ควรทยอยใส่ลงไปเพื่อยืดเวลาในการเล่น  และเด็กได้เล่นของเล่นทุกอันทักษะทางสังคมนั้น  สามารถฝึกสมาธิเด็กได้ดี  ดังนั้นในการให้แรงเสริมทางสังคมในริบทที่เด็กเล่น  ครูควรพูดชักชวนให้เด็กเล่นกับเพื่อน  ทำโดยการพูดนำของครู  เช่น  หากเด็กปกติเล่นทรายกันอยู่ เป็นกลุ่ม   โดยฝั่งตรงข้ามมีน้องมิ้นท์ซึ่งเป็นดาว์นซินโดรม อยากเข้าไปปเล่นกับเพื่อนคนเป็นครูควรหาอุปกรณ์การเล่นทรายให้น้องมิ้น และจูงมือน้องมิ้นเข้าไปหากลุ่มเ็กปกติที่เล้นทรายอยู่  และครูพูดนำเชิง  น้องมิ้นมีอุปกรณ์เล่นทรายนะ  พูดให้เด็กปกติมาเล่นกับน้องมิ้นท์เพราะน้องมิ้นก็มีอุปกรณ์การเล่นเหมือนกัน


  


สิ่งที่ช่วยให้เด็กรู้กฏเกณฑ์   เด็กทุกคนรู้จักกฎเกณฑ์เพราะเด็กทุกคนเท่าเทียมกัน  เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง  และครูต้องไม่ใช้ข้อบกพร่องของเด็กพิเศษมาเป็นเครื่องต่อรอง
เช่น  หากเด็กพิเศษไปซื้อซื้อข้าว  ครูไม่ควรให้เด็กแพิเศษแซงคิว  เพราะเห็นว่ามีความบกพร่อง           วิธีแบบนี้ถือว่าผิดคะ

หลังจากจบการเรียนการสอน ก็เป็นการร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย  โดยอาทิตย์นี้ มีทั้งหมด 6 เพลง
คือ  เพลงดวงอาทิตย์   เพลงดวงจันทร์   เพลงดอกมะลิ  เพลงกุหลาบ   เพลงนกเขาขัน   เพลงรำวงดอกมะลิ  โดยมีเนื้อหาเพลงดังต่อไปนี้คะ


เพลง ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสง
เป็นประกายเรืองรอง  ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่องเวลาว่ากลางวัน





เพลง  ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน




เพลง  ดอกมะลิ

ดอกมะลิ  กลีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ  อบขนมหอมชื่นใจ



เพลง  กุหลาบ

กุหลาบงาม  ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในเเจกัน




เพลงนกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู  จุ๊กกรู   จุ๊กกรู   จุ๊กกรู  จุ๊กกรู




เพลงรำวงดอกมะลิ

รำวง  รำวง  ร่วมใจ 
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล 
หอมกลิ่นชื่นใจ  จริงเอย 




    และกิจกรรมต่อไปเป็นกิจกรรมดนตรีบำบัด  โดยวาดภาพไปฟังเพลงไป   โดยอาจารย์ให้จับคู่กับเพื่อน  2  3 คนโดย เเจกกระดาษปอนด์คู่ละ  1 แผ่น  และสีคนละ 1 สี  โดยคนนึงขีดเส้นไปตามเสียงเพลง   อีกคนนึงจุดตามวงกลมที่เพื่อนขีดเส้นจนกว่าเพลงจะจบ   แล้วหลังจากนั้นก็เเต่งเติมให้เป็นรูปภาพ  ว่ามองแล้วออกรูปอะไร  โดยดิฉันจับคู่กับนางสาวสุกัญญา  ทองทา  โดยภาพที่ได้เป็นดังนี้

  





ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์



ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย และตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายเสร็จในคาบ  ตั้งใจทำอย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนเเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนเกือบ 100 เปอร์เซนต์  ร่วมกันตอบคำถาม และมีส่วนร่วมในการเรียนในห้องเรียน  ทำงานที่อาจารย์มอบหมายจนสำเร็จ 
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนสนุกสนาน  มีรูปแบบการสอนที่แปลกใหม่  เช่น  เกมมาเล่นก่อนการสอน   


Cute Grapes 2 เอาไปใช้แล้วช้วยเม้นท์หน่อยนะ^^ Cute Grapes 2