วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วันอังคาร ที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558
ครั้งที่ 3 กลุ่ม 103 ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.
ในรายสัปดาห์นี้เป็นการเรียนการสอนอยู่ 2 เรื่องคือ
1.การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
2.บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
โดยอาจารย์ผู้สอนได้พูดถึงการศึกษาแบบเรียนรวมก่อน โดยอธิบายดังนี้ การศึกษาแบบเรียนรวม เป็นการสอนรูปแบบใหม่ สมัยก่อนมีแต่การศึกษาแบบทั่วไป โดยคนทั่วไปเรียน แต่พวกเด็กพิเศษจะอยู่บ้าน เพราะบิดามารดาของเด็กพิเศษคิดว่าการมีลูกพิการเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงให้เด็กอยู่เเต่ในบ้าน หลบๆ ซ่อนๆ แต่หลังจากนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญจึงตั้งการศึกษาพิเศษขึ้น เช่น เด็กพิเศษ เด็กสมาธิสั้น โดยมีการแบ่งเด็กพิเศษก็เรียนกับเด็กพิเศษ เด็กปกติก็เรียนกับเด็กปกติ มันก็มีข้อเสียบ้างคือ เด็กสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เด็กไม่ค่อยเกิดการพัฒนา เจอเเต่เด็กพวกเดียวกัน ปรับตัวยาก ไม่มั่นใจในตัวเอง จากนั้นจึงมีการศึกษารูปแบบใหม่แบบเรียนร่วม จนสุดท้ายจึงเกิดเป็นคำว่า การศึกษาแบบเรียนรวม
รูปแบบการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education )
- การศึกษาพิเศษ ( Special Education )
-การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
- การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education )
การศึกษาแบบเรียนร่วม ( Integrated Education หรือ Mainstreaming )
หมายถึง เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนา ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
***ถ้าเด็กพิเศษเข้าไปเรียนหลักสูตรการสอนก็เหมือนเดิม เด็กพิเศษและเด็กปกติหากได้รับอะไรก็ได้รับเหมือนกัน โดยมีครูปฐมวัย และครูการศึกษาพิเศษเป็นผู้ดูแล
การศึกษาแบบเรียนร่วมมี 2 ประเภท
1.การเรียนร่วมบางเวลา คือ การนำเอาเด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา ช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน เช่น ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมศิลปะ เพราะกิจกรรมพวกนี้สามารถบำบัดเด็กได้
เสร็จแล้วนำเด็กกลับสู่ห้องเรียนปกติของตนเอง เด็กพิเศษระดับปานกลางถึงระดับมาก
2.การเรียนร่วมเต็มเวลา คือ การนำเอาเด็กพิเศษเข้าไปเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน และเด็กพิเศษสามารถได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
เด็กพิเศษระดับอาการน้อยๆ หรือปกติ
การศึกษาแบบเรียนรวม ( Inclusive Education )
หมายถึง การศึกษาสำหรับเด็กทุกคน จัดให้บริการพิเศษตามความต้องการของเด็กแต่ละคน รับเด็กเข้ามาเรียนร่วมตั้งเเต่เริ่มเข้ารับการศึกษา โดยมีผู้ปกครอง พ่อแม่ และครูเป็นผู้ดูแล ต่างฝ่ายต่างเข้าหาซึ่งกันเเละกัน เด็กปกติจะเข้าใจว่ามนุษย์ต้องมีความเท่าเทียมกัน ต้องเข้าใจว่าเพื่อนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- ทุกคนยอมรับรับว่า ผู้พิการ อยู่ในสังงคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติโดยไม่มีการแบ่งเเยก
- เด็กเป็นผู้เลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด้ก
- เป็นการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน
- เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของการศึกษาเเบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
- เด็กปฐมวัยเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของการเรียนรู้
- สอนได้
- เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
Inclusive Education is Education for all
It involves receiving people
at the beginning of their education
with provision of additional services
needed by each individual
การศึกษาเเบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน
และเด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาตั้งเเต่ขั้นต้น ( เด็กอนุบาล )
และไม่ลืมว่าเด็กเเต่ละคนมีความต้องการที่เเตกต่างกันเฉพาะบุคคล
คนเป็นครูต้องเข้าใจและเปิดใจด้วย คนเป็นครูต้องเปิดโอกาสทุกด้าน
เพราะจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
*** ทำไมการศึกษาแบบเรียนร่วมสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยที่สุด***
เพราะสมองกำลังเกิดการพัฒนา กำลังสร้างเซลล์สมอง ถ้าเซลล์สมองเลยอายุ 6 ขวบไปแล้วเซลล์สมองจะเสื่อม เพราะเซลล์สมองจะไปพัฒนาด้านอื่นของร่างกายต่อไป
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
1.ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการ หรือสัญญาณบางอย่างที่เด็กแสดงออกมา
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ห้ามตั้งฉายา ห้ามดูถูกเด็ก
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าบางอย่างของเด็กผิดปกติ เพราะจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยเด็กให้เกิดการพัฒนา
หน้าที่ของครู / สิ่งที่ครูต้องทำ
- ครูสามารถชี้ให้เด็กเห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ครูให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- ครูสังเกตุเด็กอย่างมีระบบ
- ครูจดบันทึกพฤติกรรมเป็นช่วงๆ ของเด็กตามความจริง
การสังเกตุอย่างเป็นระบบหมายถึง การสังเกตุเป็นประจำ ไม่ใช่สังเกตุจากตาเปล่า ครูต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลา อยู่ทั้งวัน
การตรวจสอบหมายถึง ครูจะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น และครูสามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้องควรระวังในการปฎิบัติ
1.ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
2.ครูประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
3.พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอ
การบันทึกการสังเกตมี 3 ประเภทคือ
1.การนับอย่างง่ายๆ หมายถึง นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม เช่น การกระทืบเท้า การกระโดด
2.การนับแบบต่อเนื่อง หมายถึง ให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง หมายถึง บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการนับสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละวันในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ครูควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง และหาครูได้พฤติกรรมของเด็กที่ไม่เหมาะสมที่พบได้จากเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ ในการตัดสินใจครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง เพราะพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
หลังจากอาจารย์ผู้สอนได้ให้ความรู้กับนักศึกษอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาวาดภาพดอกชบาที่นักศึกษามองเห็นให้เหมือนตัวแบบที่สุด และเมื่อวานเสร็จแล้วให้อธิบายอะไรก็ได้จากภาพที่ว่า
โดยของดิฉันอธิบายจากภาพวาดว่า....
ด้านหลังของดอกชบาถึงแม้จะไม่เห็นความสวยงามของมันเวลาเรามอง เราก็ควรจะมองทั้งด้านหน้าและด้านหลังของมันด้วย เปรียบกับคนเราจะเป็นคนดีมันต้องดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
มาร้องเพลงกันเถอะ
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
1.ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก หมายถึง การตัดสินใจโดยดูจากอาการ หรือสัญญาณบางอย่างที่เด็กแสดงออกมา
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี ห้ามตั้งฉายา ห้ามดูถูกเด็ก
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าบางอย่างของเด็กผิดปกติ เพราะจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยเด็กให้เกิดการพัฒนา
หน้าที่ของครู / สิ่งที่ครูต้องทำ
- ครูสามารถชี้ให้เด็กเห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ครูให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- ครูสังเกตุเด็กอย่างมีระบบ
- ครูจดบันทึกพฤติกรรมเป็นช่วงๆ ของเด็กตามความจริง
การสังเกตุอย่างเป็นระบบหมายถึง การสังเกตุเป็นประจำ ไม่ใช่สังเกตุจากตาเปล่า ครูต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลา อยู่ทั้งวัน
การตรวจสอบหมายถึง ครูจะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น และครูสามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้องควรระวังในการปฎิบัติ
1.ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
2.ครูประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
3.พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอ
การบันทึกการสังเกตมี 3 ประเภทคือ
1.การนับอย่างง่ายๆ หมายถึง นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม กี่ครั้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม เช่น การกระทืบเท้า การกระโดด
2.การนับแบบต่อเนื่อง หมายถึง ให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง หมายถึง บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการนับสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละวันในช่วงเวลาหนึ่ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป ครูควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่องมากกว่าชนิดของความบกพร่อง และหาครูได้พฤติกรรมของเด็กที่ไม่เหมาะสมที่พบได้จากเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ ในการตัดสินใจครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง เพราะพฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
หลังจากอาจารย์ผู้สอนได้ให้ความรู้กับนักศึกษอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษาวาดภาพดอกชบาที่นักศึกษามองเห็นให้เหมือนตัวแบบที่สุด และเมื่อวานเสร็จแล้วให้อธิบายอะไรก็ได้จากภาพที่ว่า
โดยของดิฉันอธิบายจากภาพวาดว่า....
ด้านหลังของดอกชบาถึงแม้จะไม่เห็นความสวยงามของมันเวลาเรามอง เราก็ควรจะมองทั้งด้านหน้าและด้านหลังของมันด้วย เปรียบกับคนเราจะเป็นคนดีมันต้องดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
มาร้องเพลงกันเถอะ
ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์
ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจทำงาน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เเต่งกายเรียบร้อย แต่สีผมไม่เรียบร้องต้องปรับปรุง
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนมาเรียนครบ ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟัง และตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง แต่งกายเรียบร้อย อาจารย์ชมเชยว่าสัปดาห์นี้สอนง่าย น่ารัก
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย เข้าสอนตรงต่อเวลา และสอนรู้เรื่องเข้าใจง่าย และใจดีเว่อร์
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น