wellcome to blogger freemmie

wellcome to blogger freemmie

วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วัน เสาร์ ที่ 2 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2558

บันทึกอนุทินครั้งที่  15
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันอังคาร  ที่  21  เดือนเมษายน พ.ศ.2558
ครั้งที่  15  กลุ่ม  103   ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.

       ในรายสัปดาห์นี้ก่อนเริ่มการสอน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเล่นเกมดิ่งพสุธา  โดยมีคำถามทั้งหมด 4 ข้อ และให้นักศึกษาร่วมกันตอบคำถาม  โดยมีเฉลยมาให้     บรรยายกาศในการเล่นเกมก็เต็มไปด้วยความสนุกสนาน  เพราะคำตอบนั้นนักศึกษาเข้าใจและรู้ลึกรู้ซึ้งเป็นอย่างดีคะ







    หลังจากความสนุกสนานจไปแล้ว  ก็เข้าสู่กิจกรรมการเรียนการสอน  หืมมมมมม   พออาจารย์จะสอนก็เสียงเจี้ยวจ้าวกันเลยทีเดียว   เนรคทุกป้ายเเวะเติมน้ำมัน  หะ พอพอพอ  เข้าสู่บทเรียน
     วันนี้เราจะเรียนกันเรื่อง  โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( Individualized  Education  Program )
การเขียนแผน IEP เป็นแผนที่ไม่ได้เขียนคนเดียว  ไม่เหมือนแผนการสอน  แผน IEP จัดทำกันหลายคน  คือ  ครู   หมอ   ผู้ปกครอง   ผู้บริหาร   ดังนั้นแผนจะสำเร็จได้นั้นหลาย่ายต้องช่วยเหลือกัน แผน  IEP  1  แผนสามารถใ้ได้ถึง  1  ภาคเรียนหรือเทอมนึง  ในการเขียนแผน  IEP นั้นครูต้องคัดแยกเด็ก  ครูต้องทราบลายละเอียดเด็กอย่างละเอียด ทุกอย่างต้องรู้ลึกรู้จริงการเขียนที่ต้องพ้นไปแล้ว  1 เทอมถึงจะเขียนได้  เพราะเวลา 1 เทอมครูสามารถศึกษาพฤติกรรมเด็กได้เป็นเวลาพอสมควร    แผน IEP  นั้นจะประกอบด้วย 
  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น  ( สำคัญมาก )
  • ระบุวัน เดือน  ปี ที่เริ่มทำการสอน   และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน  
  • วิธีการประเมิน
       แผน  IEP  เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้น  เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการ่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเรา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก  โดยมีการระุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก   

แผน  IEP มีประโยน์ต่อผู้เรียนคือ 

  1. ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  2. ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  3. ได้รัการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
  4. ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
        ซึ่งในการเขียนแผน  IEP นั้นครูต้องคัดแยกเด็ก ครูต้องทราว่าเด็กมีปัญหาอะไร  ครูประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ  จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน  ในทักษะใด  และเด็กสามารถทำอะไรได้  เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ แล้วจึงจะเริ่มเขียนแผนได้

แผน  IEP  มีประโยชน์ต่อครูผู้สอนคือ 
  1. เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกัความต้องการและความสามารถของเด็ก
  2. เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  3. ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  4. เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  5. ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
แผน  IEP มีประโยชน์ต่อผู้ปกครองคือ
  1. ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล   เพื่อให้เด้กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  2. ผู้ปกครองทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนเองอย่างไร
  3. ผู้ปกครองเกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก   มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง  และใกล้ิชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ในการจัดทำแผน  IEP จะต้องมีการประุมผู้ที่เกี่ยวข้อง   และร่วมกันกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น  กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม  และจะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุก่ายที่เกี่ยวข้อง   โดยทุกคนต้องยินยอม   ลงลายมือชื่อถึงจะนำแผนไปใช้ได้ 

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล  IEP

การกำหนดจุดมุ่งหมาย   มีทั้งระยะสั้นและระยะยาว

การรวบรวมข้อมูล  เ่ช่น  การรายงานทางการแพทย์   รายงานการประเมินด้านต่างๆ  หรือจะเป็นบันทึกจากผู้ปกครอง  ครู  และผู้ที่เกี่ยวข้อง  

จุดมุ่งหมายระยะยาว  
 ในการเขียนแผน  IEP  จะเป็นการเขียนแผนที่มีความหมายกว้างๆ แต่ตรงประเด็น  ตัวอย่างเช่น
  • น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
  • น้องดาวร่วมมือกับคนอื่นได้ดี
  • น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
ต้องให้อยู่ภายในจุดมุ่งหมายหลัก เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ  2-3 สัปดาห์  จะต้องระบุุขัดเจน   เช่น
  • ใคร        ธนกรณ์
  • อะไร      นั่งเงียบโดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน   ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน   ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10-15 นาทีเป็นเวลา  5  วันติดต่อกัน
การใช้แผน  IEP 

เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์  ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้นและนำมาเป็นจุดหมายเิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็กจัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น  ตัดกระดาษ  การร้อย  การปั้น  ครูต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ  โดยคำนึงถึง
  1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
  2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการของเด็ก
  3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
การประเมินผล
  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น  ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน  และเกณฑ์การวัดผล  ***การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรมอาจใช้วิธีการวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน
การจัดทำแผน  IEP

1.การรวบรวมข้อมูล   2.การจัดแผนข้อมูล   3.การใช้แผน  4.การประเมิน






ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์

ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนและแต่งกายเรียบร้อยและเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟัง ตั้งใจจด
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนมาเรียนครบ  ตั้งใจเรียนและร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี แต่เสียงดัง  พูดคุยกันขณะนั่งเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  สอนเข้าใจรู้เรื่อง  มีเทคนิคการสอนต่างๆมากมาย  สนุกสนานในการเรียน



ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Cute Grapes 2 เอาไปใช้แล้วช้วยเม้นท์หน่อยนะ^^ Cute Grapes 2