wellcome to blogger freemmie

wellcome to blogger freemmie

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วันอังคาร ที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ 2558


บันทึกอนุทินครั้งที่  6
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันอังคาร  ที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ.2558
ครั้งที่  6  กลุ่ม  103   ห้องเรียน 443
เวลาเรียน 14.10 - 16.40 น.

         ในรายสัปดาห์นี้เริ่มต้นเรียนด้วยการ  ร้องเพลง 5  เพลงที่อาจารย์สั่งเป็นการบ้านของอาทิตย์ที่แล้ว
โดยมี  5 เพลงดังนี้  เพลงกายบริหาร  เพลงผลไม้  เพลงกินผักกัน  เพลงดอกไม้  เพลงจ้ำี้ดอกไม้  
โดยมีเนื้อหาเพลงดังต่อไปนี้

เพลงฝึกกายบริหาร

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งเเรง
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว
รูปทรงสมส่วนแคล่วคล่องว่องไว





เพลงผลไม้

ส้มโอ  แตงโม  แตงไทย
ลิ้นจี่  ลำไย  องุ่น   พุทรา
เงาะ  ฝรั่ง  มังคุด
กล้วย   ละมุด  น้อยหน่า
ขนุน  มะม่วง   นานาพันธุ์






เพลงกินผักกัน

กินผักกันเถอะเรา
บวบ   ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว  แตงกวา
คะน้า  กวางตุ้ง  ผักบุ้ง  โหระพา
มะเขือเทศสีดา   ฟักทอง  กะหล่ำปลี






เพลงดอกไม้

ดอกไม้ต่างพันธุ์   สวยงามสดใส
เหลือง  แดง  ม่วงมี   แสด  ขาว   ชมพู






เพลงจ้ำจี้ดอกไม้

จ้ำจี้ดอกไม้   ดาวเรือง  หงอนไก่
จำปี   จำปา  มะลิ  พิกุล
กุหลาบ  ชบา   บานชื่น   กระดังงา
เข็ม   แก้ว   ลัดดา    เฟื่องฟ้า   ราตรี








หลังจากนั้นอาจารย์ก็นเข้าสู่บทเรียน  เรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ

อาจารย์ได้กล่าวว่า  เราควรมองเด็กๆ ไปหมด ไม่ควรมองว่าเด็กมีความบกพร่องหรือสะดุดที่เด็กพิเศษคนใดคนหนึ่ง  อาจจะมีช่วงเเรกๆแต่นานไปเราควรปรับตัวให้ได้   เวลาสอนเด็กอยาเอาใจใส่เด็กบางคนจนเกินหน้าเกินตา  เช่น  น้องดาว์นซินโดรม   เราชมน้องดาร์นน้องดาว์นก็จะรู้สึกดี  แต่เพื่อนร่วมห้องอาจจะเกิดคำถามจากอาจารย์ได้  คำถามว่า  ทำไมต้อง......อะไรก็.....  เด็กพวกนี้รู้นะ  เขาขี้งอล  จนบางครั้งอาจพาลไปจนไม่สนใจครูผู้สอนเลยก็เป็นได้


เคสตัวอย่าง

       มีเด็กคนหนึ่งเป็นออทิสติก   ชั้นอนุบาล 3 หน้าตาน่ารัก  หล่อเหลา   วันหนึ่งขณะครูเข้าไปสอน  ครูได้หันหน้าไปปะกับน้องออทิสติกคนนี้  ครูก็เกิดอาการเขิล  เลยหันหน้าหลบไม่สบตากับน้องออทิสติก   หลังจากวันนั้นน้องออทิสติกคนนี้ก็ไม่คุยกับคุณครูเลย  จนผ่านมาหลายสัปดาห์ก็ทราบว่าครูผู้สอนไม่มองหน้าเขา  เลยคิดว่าคุณครูไม่ชอบ  

    ***อาจารย์ได้บอกไว้ว่าในปัจจุบันนั้นมีสื่อ  หนังสือมากมายที่สามารถช่วยเราได้   ถ้าเกิดเราสงสัยอะไรเกี่ยวกับการสอนเด็ก  เราก็สามารถไปหาในหนังสือ  หรือเซิทกูเกิ้ลได้  หรือกดติดตามเพจต่างๆ  เพราะทุกสิ่งล้วนมีความรู้ทั้งนั้น   ฉนั้นสิ่งที่เรียนไปอย่าทิ้ง   เพราะเราสามารถนำไปใช้ในสาขาอาชีพในอนาคตได้  

สิ่งที่ควรจำ  

เด็กทุกคนค่อนข้างคล้ายกัน  ครูต้องมองเด็กให้เป็นเด็ก  ครูต้องจำชื่อเด็กให้ได้ทุกคน  เพราะเด็กจะเกิดการปลื้มปิติใจมากหากครูจำชื่อได้   และหากครูมีบุคลิกภาพที่ดีเด็กก็ชอบเหมือนกัน

   ในการคัดแยกเด็ก  หากเรามองเด็กพิเศษออก  ถ้าเรารู้เร็วเท่าไหร่เราสามารถรับมือได้ทัน   เช่น  การสังเกตุพฤติกรรม   พิพัฒนาการ    หากเราไม่รู้เราจะเขียนแผน  IEP  ไม่ได้   ฉนั้นเราต้องดูให้หมดว่า
เด็กชอบ หรือไม่ชอบอะไร  เอาให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้

ความพร้อม   ครูผู้สอนจะสอนเด็กได้เราต้องดูวุฒิภาวะ   เด็กวุฒิภาวะต่างกัน     หากอายุเท่ากันอาจแตกต่างกันบางเรื่อง    อาจจะต่างกันนิดนึง
  
แรงจูงใจ   เด็กแต่ละคนมีเเรงจูงใจในการเรียนต่างกัน   แต่ถ้าเป็นโปรเจ็ค  เช่น  เรื่องที่เด็กชอบเหมือนกัน    จะเกิดการระดมความคิด   เด็กจะสนใจและร่วมกันทำอย่างตั้งใจ   ฉนั้นในการสร้างเเรงจูงใจครูต้องสร้างเเรงจูงใจที่ใกล้เคียงกันเด็กจึงจะสนใจ

โอกาส   อาจารย์บอกว่าไหนๆเรามาเรียนเเล้วเราควรทำให้ดีที่สุด

    การสอนโดยบังเอิญ   

การสอนโดยบังเอิญเด็กพิเศษชอบมาก  (โดยเมื่อเด็กสงสัย)  เด็กเป็นฝ่ายริเริ่ม  เด็กจ
เข้ามาหาครู  การสอนโดยบังเอิญมักเกิดขึ้นในการทำกิจกรรมการสอน  เด็กจะชอบมาก  ในการสอนโดยบังเอิญครูควรปฎิบัติดังนี้

1.ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก
2.ครูต้องมีความสนใจเด็ก
3.ครูต้องมีความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก
4.ครูต้องมีอุปกรณ์และกิจกรรมล่อใจเด็ก
5.ครูต้องมีความตั้งใจจริงในการช่วยให้เด็กแต่ละคนได้เรียนรู้
6.ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน
7.ครูต้องทำให้เป็นเรื่องสนุก

อุปกรณ์ในการเรียนรวม  

อุปกรณ์ในการเรียนรวม    ต้องเป็นของเล่นที่ไม่แบ่งแยกเพศเด็ก   อุปกรณ์ที่ดีต้องไม่มีการเล่นที่ตายตัว  เช่น  บล็อค   โดมินอล   แป้งโด   ตัวต่อ  เป็นต้น 
 ประเภทของเล่นที่ตายตัว   เช่น  บล็อค   จิ๊กซอร์    เกมจับผิด  ตุ๊กตาบาร์บี้   บทบาทสมมุติ










ตารางประจำวัน  

เด็กพิเศษไม่ชอบให้ใครมาปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของพวกเขา   ตารางเรียนบทเรียนรวม   ต้องทำเป็น  petten  ต้องเหมือนกันทุกวัน   ข้อดีก็มี  คือเด็กทราบการล่วงหน้า   คาดการได้   มีการเตรียมพร้อม    การดำเนินกิจกรรมจะง่ายมากถ้าทำตารางประจำวัน







ความรู้เพิ่มเติม   

การบริการทำได้  2  วิธี  คือ
1.ทำได้โดยอิสระ 
2.มีครูออกไปนำสลับกัน

ทัศนคติของครู  

แผนการสอนสามารถยืดหยุ่นได้  ไม่ต้องเปะตามเป้าหมายตามแผนจนเกินไป  หรือทีบางครั้งครูแต่ละคนมีสไตร์การเขียนแผนที่ต่างกัน   ครูต้องยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก    ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ    เด็กทุกคนเรียนได้ถ้าครูและสังคมให้โอกาส

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้  
ครูต้องคิดเสมอว่าเด็กทุกคนสอนได้   เเต่เด็กบางคนเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ   หรือเด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส   เทคนิคการให้เเรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่   เด็กชอบเมื่อผู้ใหญ่ให้ความสนใจ  เพราะเด็กจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก   และมักเห็นผลในทันที  หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นๆก็จะลดลงและหายไป  วิธีการแสดงออกถึงเเรงเสริมจากผู้ใหญ่   คือ  การตอบสนองด้วยวาจา   การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก   พยักหน้ารับ   ยิ้ม  ฟัง  สัมผัสทางกาย   ให้ความช่วยเหลือ  หรือร่วมกิจกรรมกับเด็ก  แต่ืหลักการใช้เเรงเสริมนั้นครูควรชมเฉพาะพฤติกรรมที่ดีที่เด็กแสดงออกมา








การเเนะนำหรือบอกบท  (prompting)
1.การบอกงานย่อย
2.ลำดับความยากง่ายของงาน
3.การบอกลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ
4.การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ
ในการบอกบทนั้นครูผู้สอนนั้นควรบอกเป็นขั้นตอน  กำกับขั้นตอน  การบอกบทใช้ได้ดีกับเด็กพิเศษ

ขั้นตอนการให้เเรงเสริม

1.สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
2.วิเคราะห์งาน   กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
3.สอนจากง่ายไปยาก
4.ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม
5.ลดการบอกบท   เมื่อเด็กเรียนรู้ที่จะก้าวไปขั้นต่อไป
6.ให้เเรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่สุด
7.ทีละขั้น  ไม่เร่งรัด   ยิ่งขั้นเล็กเท่าไหร่ ยิ่งดีเท่านั้น
8.ไม่ดุหรือตี

ในการกำหนดเวลา   จำนวนและความถี่ของเเรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม  ในการใช้เเรงเสริมที่ถูกวิธี  อย่าไปมโน หรือเยอะเกิน ความต่อเนื่องของการสอน  มี 2 แบบคือ ก้าวไปข้างหน้า   กับย้อนมาข้างหลัง
ก้าวไปข้างหน้า  คือ  การทำตามขั้นตอน  
ย้อนมาข้างหลัง  คือ  เด็กจะทำขั้นสุดท้ายเอง
ในการหยุดเเรงเสริม  หากเด็กทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมควรหยุดให้กระทำทันที  เช่น  เอาเด็กออกจากของเล่น  เอาอุปกรณ์ของเล่นออกไปจากเด็ก  ทำอย่างอื่นโดยไม่สนใจเด็ก

กิจกรรมเด็กตักซุป  (การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนไปข้างหลัง)

1.เด็กจับช้อน
2.การตัก
3.การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
4.การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง
5.การเอาซุปออกจากช้อนเข้าสู่ปาก






ประเมินการเรียนการสอนรายสัปดาห์


ประเมินตนเอง
ในรายสัปดาห์นี้ตั้งใจเรียนและเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
ในรายสัปดาห์นี้เพื่อนเเต่งกายเรียบร้อย  เข้าเรียนเกือบ 100 เปอร์เซนต์  ร่วมกันตอบคำถาม และมีส่วนร่วมในการเรียนในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในรายสัปดาห์นี้อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย  เข้าสอนตรงต่อเวลา  แต่สอนเนื้อหาเยอะเกินไปจนทำให้ปล่อยช้า  แต่ความรู้เพียบคะ ขอบคุณคะ




ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Cute Grapes 2 เอาไปใช้แล้วช้วยเม้นท์หน่อยนะ^^ Cute Grapes 2